วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

IDE Connector



IDE Connector เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE รวมถึงอุปกรณ์จำพวกไดรฟ์อ่านเขียนข้อมูล เช่น ซีดีรอม ดีวีดี ซิฟไดรฟ์ โดยเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ IDE อยู่สองชุดด้วยกัน เรียกว่า IDE 1 กับ IDE 2 แต่ละคอนเน็คเตอร์ จะรองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น ซึ่งหมายถึงว่าคุณจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ชิ้นซึ่งอาจจะเป็นฮาร์ดิสก์ สองตัวกับไดรฟ์ CD-RW และไดรฟ์ DVD อีกอย่างละหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ FDD Connector ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ PIN 1 เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง แต่ IDE Connector จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ 39 พิน (ในรูปคือที่เห็นเป็นสีแดงกับสีขาว)

PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Port



PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Port เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ดซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรูแล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรูซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วยการเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไปต้องระวังให้เข็มตรงกับรูสำหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้ColorKeyแสดงเอาไว้สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ส่วนสีน้ำเงินต่อสายคีย์บอร์ดนอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือเมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคสที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ดติดอยู่เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง

PCI Slots (Peripherals component interconnect)


PCI Slots (Peripherals component interconnect) สล็อตพีซีไอ เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเช่นติดตั้งการ์ดSCSIการ์ดเสียงการ์ดเน็ตเวิร์คโมเด็มแบบInternalเมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีมแต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอโดยใช้สีแตกต่างเช่นสีน้ำเงินเพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบVLซึ่งทำงานได้ช้าการติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยากเนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบPlugandPlayที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่าอุปกรณ์บางอย่างเช่น การ์ดเสียงเมื่อติดตั้งแล้วโอเอสจะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้นอนึ่งสล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าPCIBusซึ่งก็หมายถึงเส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วงโดยบัสแบบจะทำงานในระบบ 32 บิต

BIOS (Basic Input Output )




BIOS (Basic Input Output ) เป็น CHIP IC ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดิสก์ไดรฟ์ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออส จะเริ่มตรวจสอบการทำงานของ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Power on Self Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ทราบ นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์ หรือระบบปฏิบัติการอื่น ที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย ในรูปนี้เป็นไบออสของ AMI ซึ่งไบออสมีหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AWARD, PHEONIX, COMPAQ, IBM ซึ่งจะมี ความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออส รวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส ส่วนเมนบอร์ด ที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน และตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่ไหนบนเมนบอร์ดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากคู่มือของเมนบอร์ด

AGP Slot (Accelerator Graphic Port)



AGP Slot (Accelerator Graphic Port) เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาล ตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ และอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผล ก็เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆ อย่างเช่น เกมสามมิติ โปรแกรมกราฟิกประเภทสามมิติ ออกแบบ บัสแบบเอจีพี หรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่ จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ ง่ายคือ 2X 4X 8X และล่าสุด 16X และ Express Card ซึ่งเร็วกว่า AGP Slot มาก ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น

Mainboard - Motherboard


Mainboard - Motherboard เมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลักที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ การจะให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้นั้น ต้องติดตั้งหรือเชื่อมต่อ สายเข้ากับเมนบอร์ด แม้แต่ซีพียูก็ต้องติดตั้งเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดถูกผลิตออกมาเพื่อใช้กับซีพียูต่างรุ่นต่างแบบ และยัง มีผู้ผลิตหลายรายด้วยกัน เช่น ASUS, ECS, GIGABYTE, CHAINTECH, MSI, ABIT, INTEL เป็นต้น เนื่องจากเมนบอร์ดมีจุดที่จะต้องต่อพ่วงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไป ดังนั้นจึงต้องดูรายละเอียดที่สำคัญๆ บนเมนบอร์ด ซึ่งแยกเป็น หัวข้อตามรายเมนูด้านล่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

Display Card



Display Card การ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอ หรือเรียกอีกอย่างก็คือ VGA Card (Video Graphic Array) ถ้าเป็นการ์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้สำหรับเล่นเกมก็จะเรียกว่า 3D Card ซึ่งเป็นการ์ดที่ช่วยให้การแสดงรูปภาพที่เป็นภาพสามมิติทำได้เร็วขึ้น การ์ดแสดงผลจะส่งสัญญาณภาพไปแสดงที่จอคอมพิวเตอร์ การ์ดบางรุ่นจะแสดงผลได้สองจอพร้อมกัน เรียกว่า Dual Head เนื่องจากมีพอร์ตสำหรับต่อสายจากจอมอนิเตอร์ได้สองจอ และการ์ดบางรุ่นจะมีช่องส่งสัญญาณภาพ ออกไปที่โทรทัศน์ได้ด้วย เรียกว่า TV-Out

HARD DISK



HARD DISK อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากเทปเพลงที่ใช้กับเครื่องเสียง คือใช้แม่เหล็กสำหรับจัดเก็บข้อมูล โปรแกรม ทุกโปรแกรม เกมส์สนุกๆ ที่คุณเล่น งานที่คุณพิมพ์ ต่างก็ต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ในการจัดเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์จะมีอินเทอร์เฟส สองชนิดด้วยกันคือ 1. แบบ IDE และ 2. SCSI (ออกเสียงว่า สกัซซี่) ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากราคาถูก ส่วนฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI นั้นมีความเร็วในการรับส่ง ข้อมูลสูง ส่วนใหญ่จะใช้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องที่ต้องอ่านเขียนข้อมูลบ่อยๆ แต่ก็มีข้อเสียคือราคาแพง สำหรับฮาร์ดดิสก์การเลือกซื้อจะดูที่ความจุของฮาร์ดดิสก์ และก็ความเร็วในการหมุน (ทำให้ค้นหาข้อมูลได้เร็ว) เช่น ความจุ 120 GB ความเร็วรอบ 7200 rpm (รอบต่อนาที) ในรูปจะเห็นคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับที่ฮาร์ดิสก์ไปที่เมนบอร์ด และช่องสำหรับต่อสายไฟจากพาวเวอร์ ซัพพลาย ส่วนรูปเล็กนั้นเป็นรูปภายในของฮาร์ดดิสก์

RAM (Random Access Memory)



RAM (Random Access Memory) หน่วยความจำแรม หน่วยความจำชนิดนี้จะบันทึกและอ่านข้อมูลด้วยกระแสไฟฟ้า แล้วต้องมีกระแสไฟจ่ายให้ตลอดเวลา ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมก็จะหายไปด้วย แรมจะถูกนำมาใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่น หากมีข้อมูลที่ซีพียูจำเป็นต้องใช้งานบ่อยๆ ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่แรมก่อน เพื่อให้ซีพียูเอาข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากแรมรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์นั่นเอง แรมยังมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น DRAM, DDRRAM, SDRAM, RDRAM, FlashRAM, VRAM เป็นต้น การเลือกซื้อแรมนั้นต้องดูว่าเมนบอร์ดรุ่นที่ต้องการซื้อหรือที่มีอยู่ มีซ็อคเก็ตสำหรับติดตั้งแรมแบบไหน เช่น เมนบอร์ดยี่ห้อ MSI รุ่น MS6373 มีสล็อตแรมแบบ 3DDR DIMM ก็คือมีซ็อคเก็ตสำหรับติดตั้งแรมได้สามชิ้น โดยแรมที่ใช้กับเมนบอร์ดนี้ต้องเป็นแรมแบบ DDR

SCANNER



SCANNER สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปของรหัสแท่ง (Bar Code) แล้ว แปลงเป็นข้อมูล ที่อยู่ในรูปที่คอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้และนำไปประมวลผลได้ สแกนเนอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ 1.แบบแท่นนอน (flatbed scanner) 2.แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-fed scanner) 3.แบบมือถือ 1.แบบแท่นนอน (Flatbed scanner)สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้ บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอนคือแม้ว่าอ่านภาพจากหนังสือได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก การทำงานของสแกนเนอร์แบบแท่นนอน แสงจากหลอดไฟกระทบกับหน้าหนังสือด้านที่วางแนบแผ่นกระจก โดยบริเวณที่เป็นสีขาวจะสามารถสะท้อนแสงได้มากกว่า บริเวณที่มีสีทึบกว่า มอเตอร์ที่ติดอยู่กับหัวสแกนจะค่อย ๆ เลื่อนหัวสแกนเนอร์จากปลายด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง โดยที่หัวสแกนเนอร์ของสแกนเนอร์ จะมีตัวรับแสงได้ละเอียดถึง 1/90,000 ต่อตารางนิ้ว ข้อมูลดิจิตอลที่ได้ถูกส่งเข้าคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่ซอฟต์แวร์กราฟฟิก หรือซอฟต์แวร์อ่านตัวอักษร (Optical Character Recognition software) สามารถนไปใช้งานได้ แสงสะท้อนจากหน้าหนังสือตกกระทบสู่หมู่กระจกซึ่งจะเรียงตัวทำมุมได้พอเหมาะกับเลนส์ ของสแกนเนอร์ได้ตลอดเวลา แสงที่ผ่านเลนส์จะรวมตัวกันทำให้มีความเข้มมากขึ้นจะผ่านตกกระทบลงบนไดโอดรับแสงซึ่ง เรียงตัวกันอยู่ที่หลังของเลนส์ ไดโอดดังกล่าวทำหน้าที่เปลี่ยนค่าความเข้มของแสงให้เป็นสัญญาณ ไฟฟ้า โดยแสงที่มีความเข้มมาก ก็จะทำให้สัญญาณ แรงดันไฟฟ้าที่มีค่ามากขึ้นตามไปด้วย วงจรแปลงอนาลอกเป็นดิจิตอล (A-D:Analog-to-Digital Converter) แปลงสัญญาณอนาลอกที่ได้จากไดโอดให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งใช้แทนจุดที่เป็นสีขาวและดำ มีความละเอียดของข้อมูลสูง สแกนเนอร์แบบสีทำงานคล้าย ๆ กันเพียงจะสแกน 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะสแกนเก็บความเข้มของแสง ที่ผ่านตัวกรองแสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน และนำมารวมกันเป็นภาพในขั้นสุดท้าย 2.แบบเลื่อนกระดาษ (sheet-fed scanner)สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกนซึ่ง อยู่กับที่ ข้อจำกัดของสแกนเนอร์แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้นไม่สามารถอ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้3.แบบมือถือสแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพเองสแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่ สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหนขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งานนอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้นทำให้อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ1หน้าทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้าซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัวที่ใช้กับสแกนเนอร์แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน